หากเอ่ยถึงแมวบ้านที่มีความสวยแบบไม่ต้องอธิบายอะไรมาก 1 ในนั้นต้องมีชื่อแมวเบงกอล (Bengal) อยู่ในอันดับต้นๆ แน่นอน เบงกอล มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์คือ Felis Bengolensis มีต้นกำเนิดจากการทดลองของหญิงชาวสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1980 ผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวดาวซึ่งเป็นแมวป่า กับ แมวบ้านพันธุ์ Eguptian Mau เป็นสายพันธุ์อียิปต์โบราณ
รูปร่างและลักษณะของแมวเบงกอล
แมวเบงกอล รูปร่างจะใหญ่กว่าแมวบ้านทั่วไปเล็กน้อย มีความสง่างาม แข็งแรงปราดเปรียว ช่วงสะโพกใหญ่ ลำตัวยาว ใบหูจะกลมมนเหมือนแมวบ้าน ลวดลายเบงกอล นั้นมีแพทเทิร์นของลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ได้มาจากลายจุดของแมวดาว ตามลำตัวมีดอกดวงทั้งเล็กและใหญ่ชัดเจน แต่ลายใหญ่นั้นเป็นการพัฒนาขึ้นมาภายหลัง มองแล้วจะคล้ายกับลูกเสือดาว
ส่วนลักษณะอื่นๆของแมวเบงกอลสามารถสังเกตได้ง่าย เช่น ช่วงปากมีขนสีขาวรอบๆ สันจมูกเป็นสีเข้ม ช่วงแก้มเป็นลายริ้วสีเข้ม หนวดและคิ้วเป็นสีขาว ดวงตามีสีหลายสี เช่น สีเขียว เหลือง ทอง รอบดวงตาเป็นสีขาวนวล ช่วงใต้ลำคอถึงท้องมักเป็นสีขาวนวล มีสีเข้มตามแนวของสันหลัง หางตก ตรงปลายหางนั้นนั้นมักเป็นสีเข้ม ส่วนช่วงต้นขานั้นมักเป็นลายริ้ว
ลักษณะนิสัยของแมวเบงกอล
อุปนิสัยที่โดดเด่นของเบงกอล คือเป็นแมวที่ชอบเล่นน้ำซึ่งตรงกันข้ามกับนิสัยแมวทั่วไปที่กลัวการอาบน้ำมาก อีกทั้งยังเป็นแมวที่ชอบกิจกรรมซึ่งเป็นสัญชาตญาณของแมวป่าที่ผสมมา จึงมีนิสัยนักล่าอยู่ในตัว ชอบไล่ตะครุบเหยื่อ กระโดดและปีนป่ายได้สูง หากนำมาเลี้ยงควรมีของเล่นให้งับเล่นแก้เบื่อ เวลาอยู่กับคนจะเป็นแมวที่น่ารัก ซุกซน ขี้อ้อน ชอบคลุกคลีกับคน ไม่อยู่นิ่ง จึงมีร่างกายแข็งแรงเพราะได้ออกกำลังกายตลอดเวลา
ข้อควรระวังในการเลี้ยงแมวเบงกอล
การเลี้ยงแมวเบงกอล มีสิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ แมวชนิดนี้มักเป็นโรคหัวใจ จึงควรหมั่นพบแพทย์ ฉีดวัคซีน ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ และระมัดระวังเรื่องแบคทีเรียจากอาหารค้างคืนเพราะจะทำให้แมวท้องเสียได้ ห้ามให้เนื้อไก่และเนื้อหมู อาหารโปรดของแมวชนิดนี้คือเนื้อวัว
ในประเทศไทยนั้นเริ่มมีการนำเข้าและเพาะจำหน่ายแมวเบงกอลเป็นอาชีพ ราคานั้นก็มีตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนถึงหลักแสน เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ หากทำเป็นอาชีพควรมีพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์แท้เป็นของตัวเอง เพราะจะช่วยให้เราควบคุมพฤติกรรมที่แตกต่างและโดดเด่นตามที่ลูกค้าต้องการได้ เช่น ความดุ ความเชื่อง ลวดลาย ซึ่งจะถูกถ่ายทอดมาถึงพันธุกรรมถึง 85% ที่เหลือเป็นเรื่องการการเลี้ยงดูและให้อาหารซึ่งไม่แตกต่างจากแมวบ้านทั่วไปมากนัก